logo-image-test

รีโนเวทบ้านอย่างไรให้รองรับผู้สูงวัย ในวันที่เมืองไทยเข้าสู่ยุค Aging Society

รีโนเวทบ้านอย่างไรให้รองรับผู้สูงวัย ในวันที่เมืองไทยเข้าสู่ยุค Aging Societyรีโนเวทบ้านอย่างไรให้รองรับผู้สูงวัย ในวันที่เมืองไทยเข้าสู่ยุค Aging Society
Home Buyers Team

Home Buyers Team

22 เมษายน 2568

อยากเลือกอ่าน? (TL;DR)

รีโนเวทบ้านอย่างไรให้รองรับผู้สูงวัย ในวันที่เมืองไทยเข้าสู่ยุค Aging Society

บ้านมือสอง เป็นบ้านที่มักมาคู่กับการรีโนเวท ถ้าไม่ได้ซื้อบ้านที่รีโนเวทมาเสร็จแล้ว ส่วนใหญ่ทุกคนก็จะต้องซ่อมแซม ต่อเติม และตกแต่งบ้านใหม่ให้อยู่ในสภาพที่ดี ตรงตามความต้องการใช้งานของตัวเองกับครอบครัวใช่ไหมคะ

หลายๆ บ้านเลือกซื้อบ้านเพราะมีสมาชิกครอบครัวหลายคน โดยอาจมีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วย หรือต่อให้ไม่มี พวกเราทุกคนเองก็กำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคม Aging Society ดังนั้นลงทุนรีโนเวทบ้านใหม่ทั้งที ก็ทำบ้านให้รองรับการอยู่อาศัยของผู้สูงวัยไปเลยดีไหมล่ะคะ

วันนี้ Home Hug by Home Buyers เลยจะมาแนะนำ จุดที่ควรรีโนเวทในบ้าน เพื่อให้รองรับการใช้ชีวิตของผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและการอยู่สบายเป็นหลัก จะมีอะไรบ้าง ไปติดตามกันได้เลยค่า

รีโนเวทบ้านอย่างไรให้รองรับผู้สูงวัย ในวันที่เมืองไทยเข้าสู่ยุค Aging Society

ทางลาด

ทางลาด เป็นประโยชน์มากเลยสำหรับครอบครัวที่มี ผู้สูงวัย ผู้ป่วย หรือผู้พิการ ที่ต้องนั่ง รถเข็นวีลแชร์ เพราะจะช่วยให้เราสามารถเข็นรถเข้าออกจากบ้านได้สะดวก เป็นผลดีกับตัวผู้ใช้วีลแชร์ในเรื่องสุขภาพจิต ไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ จนกล้าที่จะออกไปใช้เวลานอกบ้านมากขึ้นค่ะ

วิธีออกแบบทางลาดที่ดี ต้องมีระยะความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. มีจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นกับทางลาดที่เรียบต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการสะดุด ความลาดชันของทางลาดไม่น้อยกว่า 1:12 เช่น และควรมีชานพักทุก ๆ 6 ม. พื้นผิวเรียบต่อเนื่อง ใช้วัสดุกันลื่น ถ้าทางลาดไม่ติดกับผนังควรก่อขอบความสูงจากพื้นอย่างน้อย 15 ซม. และหากทำทางลาดยาวมากกว่า 2.50 ม. ควรออกแบบให้มีราวจับทั้ง 2 ด้านด้วยค่ะ

ประตู

ประตูแบบบานเลื่อน เป็นประตูที่ผู้สูงอายุใช้งานได้สะดวกที่สุด เพราะเลื่อนเปิด - ปิดได้ง่าย หรือถ้าผู้สูงอายุเกิดล้มขวางอยู่หน้าประตู คนที่มาช่วยก็สามารถเปิดประตูได้ง่ายกว่าบานผลักค่ะ และถ้าจะให้รองรับการเข็นรถวีลแชร์เข้าออก ประตูก็ควรมีความกว้างมากกว่า 90 ซม. บริเวณด้านหน้า - ด้านหลังของประตูต้องมีพื้นที่ว่าง ไม่เกะกะการสัญจรด้วยนะคะ

สำหรับประตูทางเข้าออกหลักของบ้านที่จะให้ผู้สูงวัยใช้งาน รวมถึงห้องนอนผู้สูงวัย และห้องน้ำผู้สูงวัย ควรทำพื้นตรงประตูให้ไม่มีการยกระดับหรือธรณีประตู ออกแบบให้พื้นเป็นทางเรียบที่มีระดับความสูงเสมอกันทั้งหมด เพื่อให้รถเข็นผ่านได้ง่าย หรือเดินเข้าออกแบบไม่ต้องกลัวสะดุดค่ะ

ห้องนอน

ห้องนอนของผู้สูงวัยควรอยู่ที่ชั้นล่าง เพื่อให้ผู้สูงวัยไม่ต้องเดินขึ้นลงบันไดซึ่งเสี่ยงอันตรายสำหรับคนที่มีอายุมากๆ และควรมีหน้าต่างบานใหญ่เพื่อเปิดรับแสงธรรมชาติให้ห้องสว่างตลอดทั้งวัน เดินเหิน หยิบจับสิ่งของต่างๆ ได้ง่าย ที่สำคัญยังช่วยให้อากาศถ่ายเท ดีต่อสุขภาพของผู้สูงวัย โดยควรจะมีพื้นที่อย่างน้อย 16 - 20 ตร.ม. ไม่เพียงเพื่อพักอาศัย แต่ยังเป็นพื้นที่ให้ทำงานอดิเรกตามความชอบ และใช้รองรับอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษด้วยค่ะ

นอกจากนี้ห้องนอนยังควรเผื่อช่องทางสัญจรสำหรัลวีลแชร์โดยต้องมีระยะหมุน 1.50 ม.ด้วย ขณะที่เตียงนอนควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 180 ซม. และสูงประมาณ 40 ซม. เพื่อให้ชันตัวลุกขึ้นนั่ง รวมถึงลงจากเตียงได้อย่างปลอดภัย และไหนๆ ก็จะรีโนเวทแล้วก็ควรเปลี่ยนพื้นเป็นวัสดุ Soft Absorption Floor ที่ดูดซับแรงกระแทก เดินได้นุ่มเท้า ดีต่อข้อต่อกระดูก รวมถึงลดความรุนแรงหากพลัดหกล้มด้วยค่ะ

ห้องน้ำ

ห้องน้ำคือสถานที่ซึ่งเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายกว่าห้องอื่นๆ ในบ้าน เพราะห้องน้ำมีความเปียกชื้น ลื่นง่าย ทั้งยังมีขนาดเล็กทำให้ผู้สูงอายุใช้งานไม่สะดวก ดังนั้นห้องน้ำสำหรับผู้สูงวัยจึงควรมีความกว้างอย่างน้อย 1.50 x 2 ม. เพื่อให้รถเข็นหมุนกลับตัวได้สะดวก และควรใช้ประตูบานเลื่อนความกว้าง 90 ซม. ขึ้นไป ไม่มีพื้นต่างระดับตามเหตุผลในข้อก่อนหน้านี้ค่ะ โดยปัจจุบันมีเทคนิคการทำ Floor Drain บริเวณหน้าประตูและกั้นระหว่างส่วนเปียกส่วนแห้ง แทนการเปลี่ยนระดับหรือใช้ขอบกันน้ำ เพื่อให้น้ำไม่เปียกเลอะไปยังห้องนอนหรือโถงทางเดิน

ที่สำคัญคือพื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น ควรใช้วัสดุประเภทผิวฝืดที่เหมาะกับพื้นที่ส่วนเปียกและส่วนแห้ง อาจเปลี่ยนสีหรือลายที่แตกต่างสำหรับโซนเปียก โซนแห้ง เพื่อให้เห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังควรมีช่องเปิดรับแสงธรรมชาติเข้ามาลดความเปียกชื้นเพื่อให้พื้นห้องน้ำแห้งอยู่เสมอ ทางที่ดีควรติดราวจับช่วยพยุงตัวตามจุดต่างๆ โดยเฉพาะโถสุขภัณฑ์ซึ่งเป็นจุดที่ต้องลุกนั่ง และพื้นที่ส่วนอาบน้ำ โดยการก่อที่นั่งอาบน้ำก็ยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นในวันเริ่มยืนนานๆ ไม่ไหวด้วยค่ะ

สวิตช์ไฟ

นอกจากสุดสำคัญภายในบ้านที่ควรรีโนเวทหากมีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ด้วย อีกเรื่องที่ควรใส่ใจก็คือตำแหน่งของสวิตช์ไฟ ซึ่งควรมีความสูงในระดับที่ผู้สูงอายุสามารถเอื้อมถึงได้โดยไม่ต้องก้มตัว ถ้าบ้านไหนผู้สูงอายุนั่งรถเข็นวีลแชร์ก็ควรวัดระยะให้อยู่ในระดับที่เอื้อมถึงจากรถเข็นได้ด้วยค่ะ

สำหรับผู้สูงอายุ อุบัติเหตุในบ้านสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนวันหนุ่มสาว ดังนั้นถ้าบ้านเรามีผู้สูงวัยอาศัยอยู่ด้วย ถ้าจะรีโนเวทอยู่แล้วก็ควรถือโอกาสเตรียมสภาพบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุไว้เลยนะคะ ทางที่ดีควรมีปุ่มฉุกเฉินติดไว้ตามจุดต่างๆ ในบ้าน เพื่อให้ผู้สูงวัยขอความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีด้วยค่ะ และสำหรับใครที่กำลังมองหาบ้านมือสองมารีโนเวทใหม่อยู่พอดี www.homehug.in.th พร้อมช่วยแล้วค่ะ เรามีประกาศขายบ้านมือสองหลากหลายทำเลให้เลือกอยู่เพียบเลยค่า